06-09-2562 Hits:3497 ภาพกิจกรรม Super User
อบจ.เชียงราย ได้รับคัดเลือกรับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ประเภทโดดเด่น จากนวัตกรรมดินซีเมนต์ผสมยางพาราสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Para Soil Cement Innovation for Sustainable Development) ตามที่ประชุมอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อให้ได้รับรางวัลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 7/2562 ณ หอประชุม 108 ชั้น 1 อาคารสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นั้น ที่ประชุมพิจารณา...
Read more06-09-2562 Hits:3256 ภาพกิจกรรม Super User
อบจ.เชียงราย รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.2562 ระดับประเทศ วันที่ 28 สิงหาคม 2562 เวลา 14.00 น. นายเทอดเกียรติ สุกใส ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เข้าร่วมพิธีรับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่นทางวัฒนธรรม ในงานประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และพิธียกย่องภาคีเครือข่ายดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ.2562 จาก นายปรเมศว์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม...
Read more06-09-2562 Hits:3540 ภาพกิจกรรม Super User
สายวิ่ง สายเต้น ไม่ควรพลาด เปิดแล้วสถานที่ออกกำลังกายใหม่ของเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เปิดสวนไม้งามริมน้ำกก สถานที่จัดงานมหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ เพื่อให้เป็นปอดของเมืองเชียงราย สายวิ่ง : ใต้ร่มเงาแมกไม้อันร่มรื่น สัมผัสกับบรรยากาศริมแม่น้ำกก สายเต้น : แอโรบิคทุกเย็น เริ่มเวลา 17.00 น. ณ ลานพลับพลา เดินเล่น เพลิดเพลินกับอากาศที่เย็นสบายกลางสวนไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ สวนไม้งามริมน้ำกก อีกหนึ่งสถานที่ออกกำลังและพักผ่อนของเมืองเชียงราย เปิดตั้งแต่เวลา 05.30-21.00 น. ทุกวัน
Read more06-09-2562 Hits:3276 ภาพกิจกรรม Super User
อบจ.เชียงราย ขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน วันที่ 28 สิงหาคม 2562 นางนุชนารถ วดีศิริศักดิ์ รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมเป็นวิทยากรอภิปรายในหัวข้อ “การบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน ซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” ณ ห้องบอลรูมฟอร์เย่ ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร ...
Read more01-03-2562 Hits:5421 ภาพกิจกรรม Super User
อบจ.เจียงฮาย ZERO WASTE ดี-เดย์ 1 มีนาคม 2562 ร่วมมือกัน เราทำได้ สู่ อบจ.เจียงฮาย ZERO WASTE วันที่ 1 มีนาคม 2562 เป็นวันเริ่มต้นการนำ อบจ.เชียงรายสู่ การสร้างวัฒนธรรมสังคมปลอดขยะ โดยทุกสำนัก/กอง ต้องดำเนินการดังนี้1.เปลี่ยนจากถุงขยะสีดำ เป็นถุงใส : เพื่อจะได้ทราบว่าแยกขยะถูกต้องหรือไม่2.แยกขยะให้ตรงตามประเภท : เพื่อการแยกกำจัดขยะอย่างถูกวิธี3.ถังกินแกง : เศษอาหารสามารถเป็นปุ๋ยได้ โดยถังกรีนโคลนทั้งหมดนี้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะในสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายได้และแต่ละสำนัก/กอง มีการแยกสีเชือกฟางอย่างชัดเจน เพื่อให้ทราบได้ว่าขยะถุงไหนมาจากหน่วยงานไหน...
Read more26-12-2560 Hits:7439 ภาพกิจกรรม Super User
ท่านปลัดฯ ท่านรองปลัดฯ ผู้อำนวยการสำนักการช่าง กศว.คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ อบจ.เชียงราย ร่วมตรวจงานและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ภาพเจียงฮาย ณ.ศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า
Read more
สรุป โครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน |
โครงการนี้ต้องถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ตระหนักในปัญหาและให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปัญหาการจัดการขยะ นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจจะเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหามลพิษทางอากาศ หมอกควันจากการเผาป่า เผาซากพืช ที่อยู่บนผิวดิน พลาสติก ในครัวเรือน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้หากจะวางใจมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการ ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนได้ ประกอบกับ นโยบายของรัฐบาลและจังหวัดเชียงราย ได้เน้นให้ทุกพื้นที่ ได้เรียนรู้และบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และจังหวัดเชียงรายได้เสนอตัวเป็นจังหวัดนำร่อง การบริหารจัดการขยะและการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยได้จัดทำโครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืนซึ่งมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ จัดการอย่างมีวิธี สามัคคีและยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โดยเริ่มต้นการแก้ไขปัญหา ที่เหตุและที่มาของขยะและมลพิษ คือ ครัวเรือน โดยใช้เสวียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการจัดการขยะอย่างครัวเรือนโดยให้ทุกครัวเรือนจัดทำเสวียนรองรับจัดการขยะซากพืช ขยะอินทรีย์อื่นๆ ทับถมกันใช้ระยะเวลาหนึ่ง จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ลดการเผาเศษขยะวัสดุต่างๆ ในครัวเรือน และจัดการคัดแยกขยะครัวเรือนเป็นประเภท “ขยะมีพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขยะรีไซเคิลสร้างรายได้” โดยมีหน่วยงานหลักๆ ร่วมกันดำเนินการในหมู่บ้านที่ได้ร่วมโครงการ ประกอบด้วยดังนี้ ๑. จังหวัดเชียงราย สนับสนุนและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ๒. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เน้นการสร้างความรู้ การสร้างอาชีพ และยกระดับนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น “เสวียน” สู่การแก้ไขปัญหาขยะชุมชน โดยขยายผลการจัดการขยะ “เสวียน” ในทุกหมู่บ้าน ๓. สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงรามุ่งเน้นให้ความรู้ทางวิชาการ สร้างภูมิคุ้มกันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน รวมทั้งการติดตามต่อยอดโครงการให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น ๔. ที่ทำการปกครองอำเภอ พัฒนาชุมชน และสาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัดสภาวัฒนธรรมจังหวัด มุ่งเน้นการดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ ให้แก่ชุมชน เช่น การเสริมสร้างความรู้ วิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านและการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณชุมชน จัดกิจกรรมด้านสาธารณสุข และวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ๕. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณและกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก การรณรงค์พร้อมประสานงานอำนวยความสะดวกแก่ทุกครัวเรือนในการจัดการขยะ
วิธีการ ขั้นตอนที่ ๑ แสวงหาความร่วมมือ - เสนอแนวคิดและโครงสร้างต่อจังหวัดเชียงราย พัฒนาชุมชน อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน - คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ ๑๘ อำเภอ ๑๘ หมู่บ้าน โดยผ่านความเห็นชอบจากระดับตำบล อำเภอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่สนใจและมุ่งมั่นตระหนักในปัญหานี้เช่นกันโดยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละอำเภอ เป็นส่วนใหญ่ - จัดประชาคมหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) สัญญาใจร่วมเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาโดยมีหลักประกัน แก้ไขปัญหาชุมชน ขั้นตอนที่ ๒ แสวงหาความรู้ อย่างเข้าใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน - ทุกหน่วยงานเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อดำเนินการตามภารกิจและกรอบการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน - ทุกหน่วยงานสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคนในชุมชนร่วมกัน สามารถเป็นต้นแบบการบริหารจัดการของชุมชนตามบริบทพื้นที่แต่ละแห่ง ขั้นตอนที่ ๓ ประเมินผล - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการและภาคประชาชน ร่วมประเมินผล
|
สรุป โครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
โครงการนี้ต้องถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ตระหนักในปัญหาและให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปัญหาการ จัดการขยะ นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจจะเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหามลพิษทางอากาศ หมอกควันจากการเผาป่า เผาซากพืช ที่อยู่บนผิวดิน พลาสติก ในครัวเรือน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ หากจะวางใจมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการ ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนได้ ประกอบกับ นโยบายของรัฐบาลและจังหวัดเชียงราย ได้เน้นให้ทุกพื้นที่ ได้เรียนรู้และบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และจังหวัดเชียงรายได้เสนอตัวเป็นจังหวัดนำร่อง การบริหารจัดการขยะและการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยได้จัดทำโครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืนซึ่งมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ จัดการอย่างมีวิธี สามัคคีและยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
โดยเริ่มต้นการแก้ไขปัญหา ที่เหตุและที่มาของขยะและมลพิษ คือ ครัวเรือน โดยใช้เสวียน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการจัดการขยะอย่างครัวเรือน โดยให้ทุกครัวเรือนจัดทำเสวียนรองรับจัดการขยะซากพืช ขยะอินทรีย์อื่นๆ ทับถมกันใช้ระยะเวลาหนึ่ง จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ลดการเผาเศษขยะวัสดุต่างๆ ในครัวเรือน และจัดการคัดแยกขยะครัวเรือนเป็นประเภท “ขยะมีพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขยะรีไซเคิลสร้างรายได้”
โดยมีหน่วยงานหลักๆ ร่วมกันดำเนินการในหมู่บ้านที่ได้ร่วมโครงการ ประกอบด้วยดังนี้
๑. จังหวัดเชียงราย สนับสนุนและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
๒. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เน้นการสร้างความรู้ การสร้างอาชีพ และยกระดับนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น “เสวียน” สู่การแก้ไขปัญหาขยะชุมชน โดยขยายผลการจัดการขยะ “เสวียน” ในทุกหมู่บ้าน
๓. สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงรามุ่งเน้นให้ความรู้ทางวิชาการ สร้างภูมิคุ้มกันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน รวมทั้งการติดตามต่อยอดโครงการให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น
๔. ที่ทำการปกครองอำเภอ พัฒนาชุมชน และสาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด มุ่งเน้นการดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ ให้แก่ชุมชน เช่น การเสริมสร้างความรู้ วิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน และการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณชุมชน จัดกิจกรรมด้านสาธารณสุข และวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นต้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณและกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก การรณรงค์พร้อมประสานงานอำนวยความสะดวกแก่ทุกครัวเรือนในการจัดการขยะ
วิธีการ
ขั้นตอนที่ ๑ แสวงหาความร่วมมือ
- เสนอแนวคิดและโครงสร้างต่อจังหวัดเชียงราย พัฒนาชุมชน อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
- คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ ๑๘ อำเภอ ๑๘ หมู่บ้าน โดยผ่านความเห็นชอบจากระดับตำบล อำเภอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่สนใจและมุ่งมั่น ตระหนักในปัญหานี้เช่นกัน โดยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละอำเภอ เป็นส่วนใหญ่
- จัดประชาคมหมู่บ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) สัญญาใจ ร่วมเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาโดยมีหลักประกัน แก้ไขปัญหาชุมชน
ขั้นตอนที่ ๒ แสวงหาความรู้ อย่างเข้าใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- ทุกหน่วยงานเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อดำเนินการตามภารกิจและกรอบการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน
- ทุกหน่วยงาน สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคนในชุมชนร่วมกัน สามารถเป็นต้นแบบการบริหารจัดการของชุมชนตามบริบทพื้นที่แต่ละแห่ง
ขั้นตอนที่ ๓ ประเมินผล
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการและภาคประชาชน ร่วมประเมินผล
![]() | Today | 96 |
![]() | Yesterday | 186 |
![]() | This week | 282 |
![]() | Last week | 1380 |
![]() | This month | 1514 |
![]() | Last month | 6678 |
![]() | All days | 241262 |