แผนการพัฒนาบุคลากร

 

วิสัยทัศน์

 

     “ พัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ เพื่อทำให้เชียงรายเป็นเมืองน่าอยู่ ประตูทองสู่อาเซียน”

 

 

 

พันธกิจการพัฒนาบุคลากร

 

     - ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกตำแหน่ง

 

     - เสริมสร้างให้บุคลากรมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

     - ส่งเสริมและพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถให้ทันสมัยอยู่เสมอ

 

     - ส่งเสริมให้บุคลากร มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยและมีจิตสาธารณะ

 

 

 

เป้าหมาย/จุดมุ่งหมายการจัดทำแผนพัฒนา

 

     ๑) บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายตามแผนอัตรากำลัง ๓ ปี  พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗  ต้องได้รับการพัฒนาทุกตำแหน่งภายในระยะเวลา ๓ ปี ครอบคลุมตามหลักสูตรของประกาศ ก.จ.จ.เชียงราย

 

     ๒) บุคลากรในองค์กรสามารถนำนโยบายของผู้บริหารไปปฏิบัติงานได้สำเร็จ

 

     ๓) บุคลากรมีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

     ๔) ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชามีความพร้อมในการปฏิบัติงานในระดับที่สูงขึ้น

 

 

หลักการและเหตุผลการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร
๑.๑ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง

     ภายใต้กระแสแห่งการปฏิรูประบบราชการ และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการยุคใหม่ ผู้นาหรือผู้บริหารองค์การต่าง ๆ ต้องมีความตื่นตัวและเกิดความพยายามปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทางาน เพื่อแสวงหารูปแบบใหม่ ๆ และนาระบบมาตรฐานในระดับต่าง ๆ มาพัฒนาองค์การ ซึ่งนาไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถใช้และพัฒนาความรู้ ที่มีอยู่ภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนวิทยาการความรู้ใหม่มาใช้กับองค์การได้อย่างเหมาะสม

๑.๒ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

     พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

มาตรา ๑๑ ระบุ ดังนี้

     “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์”

     “ในการบริหารราชการแนวใหม่ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและสถานการณ์ของต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกานี้จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิมเสียใหม่ จากการที่ยึดแนวความคิดว่าต้องปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้ ตั้งแต่อดีตจนต่อเนื่องถึงปัจจุบัน เน้นการสร้างความคิดใหม่ ๆ ตามวิชาการสมัยใหม่และนามาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการตลอดเวลา ในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดเป็นหลักการว่า ส่วนราชการต้องมีการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

     ๑. ต้องสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง

     ๒. ต้องสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

     ๓. ต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการทุกคนเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่ตลอดเวลามีความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมีคุณธรรม

     ๔. ต้องมีการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

เพื่อการนำมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ

  

๑.๓ ประกาศ ก.จ.จ.เชียงราย

               ประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดเชียงราย (ก.จ.จ.เชียงราย) เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๕  ส่วนที่ ๔ การพัฒนาข้าราชการ ข้อ ๒๗๑ กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดทำแผนการพัฒนาข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     เพื่อให้เป็นไปตามประกาศดังกล่าวข้างต้น  จึงได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรขึ้น โดยจัดทำให้สอดคล้องกับแผนอัตรากำลัง ๓ ปี ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และจัดทำให้ครอบคลุมถึงบุคลากรฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเมือง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลูกจ้างประจำ  พนักงานจ้างและบุคลากรทางการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

          ๑.๔ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของการบริหารทรัพยากรบุคคล

จุดแข็ง (Strengths)

. มีเจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบในแต่ละตำแหน่ง

   ชัดเจน สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกรวมเร็วทัน

   ต่อเหตุการณ์

. สามารถกำหนดส่วนราชการให้เหมาะสมและ

   กำหนดอัตรากำลังในการปฏิบัติงานได้

. ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบสารสนเทศ และ IT ให้

   ทันสมัยอยู่เสมอ

๔. ผู้บริหารให้การสนับสนุนการพัฒนาทั้งด้านวิขา

   การและด้านการพัฒนาบุคลากร

จุดอ่อน (Weaknesses)

. การปฏิบัติงานในส่วนราชการและระหว่างภาค

    ส่วนราชการยังขาดความเชื่อมโยงเกื้อหนุนซึ่ง

    กันและกัน

. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ที่เป็นระบบ

    และเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

. เจ้าหน้าที่มีความตระหนักในหน้าที่และความ

    รับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติค่อนข้างน้อย

. ขาดการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และพัฒนา

    แนวคิดรวมถึงคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้

    เกิดสิ่งจูงใจและขวัญกำลังใจที่จะทำให้

    ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุ่มเทกำลังกายและ

    ความคิดในการปฏิบัติงาน

โอกาส(Opportunities)

. นโยบายรัฐบาลเอื้อต่อการพัฒนาและการ

   กระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

. กระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการ   

   ปกครองท้องถิ่นสนับสนุนการพัฒนาข้าราชการ

   อบจ.ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

. ประชาชนให้ความสนใจต่อการปฏิบัติงานของ

   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อุปสรรค (Threats)

. ระเบียบกฎหมายไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน

. กระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

   สังคม การเปิดประเทศสู่ประชาคมอาเซียน มี

   ผลกระทบต่อการพัฒนาบุคคลกรไม่ทันต่อกัน

   เปลี่ยนแปลง