สรุป โครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

          โครงการนี้ต้องถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ตระหนักในปัญหาและให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปัญหาการจัดการขยะ นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจจะเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหามลพิษทางอากาศ หมอกควันจากการเผาป่า เผาซากพืช ที่อยู่บนผิวดิน พลาสติก ในครัวเรือน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้หากจะวางใจมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการ ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนได้ ประกอบกับ นโยบายของรัฐบาลและจังหวัดเชียงราย ได้เน้นให้ทุกพื้นที่ ได้เรียนรู้และบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และจังหวัดเชียงรายได้เสนอตัวเป็นจังหวัดนำร่อง การบริหารจัดการขยะและการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยได้จัดทำโครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืนซึ่งมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ จัดการอย่างมีวิธี สามัคคีและยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

          โดยเริ่มต้นการแก้ไขปัญหา ที่เหตุและที่มาของขยะและมลพิษ คือ ครัวเรือน โดยใช้เสวียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการจัดการขยะอย่างครัวเรือนโดยให้ทุกครัวเรือนจัดทำเสวียนรองรับจัดการขยะซากพืช ขยะอินทรีย์อื่นๆ ทับถมกันใช้ระยะเวลาหนึ่ง จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ลดการเผาเศษขยะวัสดุต่างๆ ในครัวเรือน และจัดการคัดแยกขยะครัวเรือนเป็นประเภท ขยะมีพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขยะรีไซเคิลสร้างรายได้

โดยมีหน่วยงานหลักๆ ร่วมกันดำเนินการในหมู่บ้านที่ได้ร่วมโครงการ ประกอบด้วยดังนี้

๑.     จังหวัดเชียงราย สนับสนุนและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

๒. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เน้นการสร้างความรู้ การสร้างอาชีพ และยกระดับนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสวียนสู่การแก้ไขปัญหาขยะชุมชน โดยขยายผลการจัดการขยะ เสวียนในทุกหมู่บ้าน

๓.  สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงรามุ่งเน้นให้ความรู้ทางวิชาการ สร้างภูมิคุ้มกันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน รวมทั้งการติดตามต่อยอดโครงการให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

๔.   ที่ทำการปกครองอำเภอ พัฒนาชุมชน และสาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัดสภาวัฒนธรรมจังหวัด มุ่งเน้นการดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ ให้แก่ชุมชน เช่น การเสริมสร้างความรู้ วิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านและการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณชุมชน จัดกิจกรรมด้านสาธารณสุข และวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นต้น

              ๕.   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณและกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก การรณรงค์พร้อมประสานงานอำนวยความสะดวกแก่ทุกครัวเรือนในการจัดการขยะ

 

วิธีการ

ขั้นตอนที่ ๑ แสวงหาความร่วมมือ

-        เสนอแนวคิดและโครงสร้างต่อจังหวัดเชียงราย พัฒนาชุมชน อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

-    คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ ๑๘ อำเภอ ๑๘ หมู่บ้าน โดยผ่านความเห็นชอบจากระดับตำบล อำเภอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่สนใจและมุ่งมั่นตระหนักในปัญหานี้เช่นกันโดยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละอำเภอ เป็นส่วนใหญ่

จัดประชาคมหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) สัญญาใจร่วมเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาโดยมีหลักประกัน แก้ไขปัญหาชุมชน

ขั้นตอนที่ ๒ แสวงหาความรู้ อย่างเข้าใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

-     ทุกหน่วยงานเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อดำเนินการตามภารกิจและกรอบการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน

-  ทุกหน่วยงานสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคนในชุมชนร่วมกัน สามารถเป็นต้นแบบการบริหารจัดการของชุมชนตามบริบทพื้นที่แต่ละแห่ง

ขั้นตอนที่ ๓ ประเมินผล

-       หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการและภาคประชาชน ร่วมประเมินผล

 

สรุป โครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

          โครงการนี้ต้องถือว่าเป็นนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ตระหนักในปัญหาและให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปัญหาการ              จัดการขยะ นับวันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจจะเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหามลพิษทางอากาศ หมอกควันจากการเผาป่า เผาซากพืช ที่อยู่บนผิวดิน พลาสติก ในครัวเรือน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้              หากจะวางใจมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการ ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนได้ ประกอบกับ นโยบายของรัฐบาลและจังหวัดเชียงราย ได้เน้นให้ทุกพื้นที่ ได้เรียนรู้และบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม และจังหวัดเชียงรายได้เสนอตัวเป็นจังหวัดนำร่อง การบริหารจัดการขยะและการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยได้จัดทำโครงการ ๑๘ อำเภอ ๑๘ ต้นแบบ การจัดการขยะอย่างยั่งยืนซึ่งมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเข้าใจ จัดการอย่างมีวิธี สามัคคีและยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

          โดยเริ่มต้นการแก้ไขปัญหา ที่เหตุและที่มาของขยะและมลพิษ คือ ครัวเรือน โดยใช้เสวียน             ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญในการจัดการขยะอย่างครัวเรือน            โดยให้ทุกครัวเรือนจัดทำเสวียนรองรับจัดการขยะซากพืช ขยะอินทรีย์อื่นๆ ทับถมกันใช้ระยะเวลาหนึ่ง จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ลดการเผาเศษขยะวัสดุต่างๆ ในครัวเรือน และจัดการคัดแยกขยะครัวเรือนเป็นประเภท ขยะมีพิษเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขยะรีไซเคิลสร้างรายได้

โดยมีหน่วยงานหลักๆ ร่วมกันดำเนินการในหมู่บ้านที่ได้ร่วมโครงการ ประกอบด้วยดังนี้

๑.     จังหวัดเชียงราย สนับสนุนและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

๒.     องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เน้นการสร้างความรู้ การสร้างอาชีพ และยกระดับนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสวียนสู่การแก้ไขปัญหาขยะชุมชน โดยขยายผลการจัดการขยะ เสวียนในทุกหมู่บ้าน

๓.     สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงรามุ่งเน้นให้ความรู้ทางวิชาการ สร้างภูมิคุ้มกันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน รวมทั้งการติดตามต่อยอดโครงการให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

๔.     ที่ทำการปกครองอำเภอ พัฒนาชุมชน และสาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด                สภาวัฒนธรรมจังหวัด มุ่งเน้นการดำเนินการตามภารกิจหน้าที่ ให้แก่ชุมชน เช่น             การเสริมสร้างความรู้ วิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน             และการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณชุมชน จัดกิจกรรมด้านสาธารณสุข และวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นต้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณและกิจกรรมการปลูกจิตสำนึก การรณรงค์พร้อมประสานงานอำนวยความสะดวกแก่ทุกครัวเรือนในการจัดการขยะ

วิธีการ

ขั้นตอนที่ ๑ แสวงหาความร่วมมือ

-          เสนอแนวคิดและโครงสร้างต่อจังหวัดเชียงราย พัฒนาชุมชน อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

-          คัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ ๑๘ อำเภอ ๑๘ หมู่บ้าน โดยผ่านความเห็นชอบจากระดับตำบล อำเภอ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่สนใจและมุ่งมั่น ตระหนักในปัญหานี้เช่นกัน โดยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละอำเภอ เป็นส่วนใหญ่

-          จัดประชาคมหมู่บ้าน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) สัญญาใจ             ร่วมเป็นเครือข่ายภูมิปัญญาโดยมีหลักประกัน แก้ไขปัญหาชุมชน

ขั้นตอนที่ ๒ แสวงหาความรู้ อย่างเข้าใจและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

-          ทุกหน่วยงานเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อดำเนินการตามภารกิจและกรอบการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน

-          ทุกหน่วยงาน สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของคนในชุมชนร่วมกัน สามารถเป็นต้นแบบการบริหารจัดการของชุมชนตามบริบทพื้นที่แต่ละแห่ง

ขั้นตอนที่ ๓ ประเมินผล

-          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการและภาคประชาชน ร่วมประเมินผล